About Us

แผนการจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ

 

แผนการจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) ของบริษัท อี ฟอร์ แอล เอม จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “บริษัท”) จัดทำขึ้น เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการตอบสนองและปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤติหรือเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเกิดจากภัยธรรมชาติ อุทกภัย วาตภัย อุบัติเหตุ อัคคีภัย การก่อการประท้วง จลาจล การก่อวินาศกรรม โรคระบาด โรคติดต่ออย่างรุนแรง หรือการมุ่งร้ายต่อองค์กร เช่น การจู่โจมทางคอมพิวเตอร์ และอื่น ๆ  โดยสภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวส่งผลให้การดำเนินงานของบริษัทต้องหยุดชะงัก หรือไม่สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องได้.

ดังนั้น การจัดทำแผนจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้บริษัท สามารถรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ไม่คาดคิด และทำให้กระบวนการที่สำคัญ (Critical Business Process) สามารถกลับมาดำเนินการได้อย่างปกติ หรือตามระดับการให้บริการที่กำหนดไว้ในระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้สามารถลดระดับความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบริษัทได้.

  • เพื่อให้บริษัท มีแนวทางปฏิบัติที่เตรียมพร้อมล่วงหน้าในการที่จะรับมือกับสภาวะวิกฤติ หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ.
  • เพื่อลดผลกระทบด้านต่าง ๆ รวมถึงผลกระทบทางการเงิน ซึ่งเกิดจากการที่บริษัท ต้องหยุดชะงักหรือชะลอการดำเนินงานหรือการให้บริการ ในช่วงที่เกิดสภาวะวิกฤติดังกล่าว.
  • เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) อาทิ ลูกค้า คู่ค้า ซัพพลายเออร์ และพนักงาน มีความเชื่อมั่นว่าบริษัท สามารถดำเนินงานและให้บริการได้อย่างต่อเนื่องในสภาวะวิกฤติ ด้วยทรัพยากร ข้อมูลสารสนเทศ และแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ จนกระทั่งเหตุการณ์ผ่านพ้นไป.

1.1 สมมติฐานของแผนการจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP Assumptions)

รายงานนี้ได้จัดทำขึ้นภายใต้สมมติฐาน ดังต่อไปนี้

  • เหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสถานที่ปฏิบัติงานสำรองที่ได้มีการจัดเตรียมไว้.
  • แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กร (Corporate IT) รับผิดชอบในการสำรองระบบสารสนเทศต่าง ๆ โดยระบบสารสนเทศสำรองนั้น มิได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ฉุกเฉินเดียวกันกับระบบสารสนเทศหลัก.
  • “พนักงาน” ที่ถูกระบุในรายงานนี้ หมายถึงพนักงานทั้งหมดของบริษัทและบริษัทย่อย.

1.2 ขอบเขตของแผนการจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Scope of BCP)

แผนการจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ฉบับนี้ ใช้รองรับกรณีเกิดสภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่การดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือภายในแผนก/ฝ่ายของบริษัท ประกอบด้วยเหตุการณ์ต่อไปนี้

  • เหตุการณ์อุทกภัย/วาตภัย (น้ำท่วม/พายุ)
  • เหตุการณ์อัคคีภัย/แผ่นดินไหว
  • ระบบข้อมูลสารสนเทศล่ม หยุดชะงัก
  • เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/จลาจล
  • เหตุการณ์โรคระบาด/โรคติดต่อร้ายแรง

อย่างไรก็ตาม แผนจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจฉบับนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับกับสภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ได้พิจารณาถึงผลกระทบต่อทรัพยากรที่สำคัญในการดำเนินงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ด้านดังนี้:

ที่ ผลกระทบด้าน เหตุการณ์

1

ผลกระทบด้านอาคารสำนักงาน/คลังสินค้า

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้สถานที่ปฏิบัติงานหลักได้รับความเสียหายหรือไม่สามารถใช้สถานที่ปฏิบัติงานหลักได้ และส่งผลให้บุคลากรไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ชั่วคราวหรือระยะยาว

2

ผลกระทบด้านสินค้า อะไหล่ อุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ไม่สามารถจัดส่งสินค้า หาจัดหาสินค้าได้ ไม่มียานพาหนะ อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าให้สามารถใช้งานในการปฏิบัติงานได้ตามปกติ

3

ผลกระทบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ไม่สามารถใช้ระบบงานเทคโนโลยีหรือระบบสารสนเทศหรือข้อมูลที่สำคัญได้ตามปกติ

4

ผลกระทบด้านบุคลากร

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้บุคลากรไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ตามปกติ

5

ผลกระทบด้านคู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้คู่ค้า/ผู้ให้บริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่สามารถที่จะให้บริการหรือส่งมอบงานได้ตามปกติ.

1.3 สรุปเหตุการณ์สภาวะวิกฤติและผลกระทบจากเหตุการณ์

ความเสี่ยงและภัยคุกคาม ผลกระทบ
ด้านอาคารสำนักงาน/คลังสินค้า ด้านสินค้า อะไหล่ อุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ ด้านบุคลากร ด้านคู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ
อุทกภัย/วาตภัย
อัคคีภัย/แผ่นดินไหว
ระบบข้อมูลสารสนเทศ  
ชุมนุมประท้วง/จลาจล
โรคระบาด/โรคติดต่อร้ายแรง

แผนการจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ฉบับนี้ ไม่รองรับการปฏิบัติงานในกรณีที่มีเหตุขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปกติ และเหตุขัดข้องดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบระดับสูงต่อการดำเนินงานและการให้บริการของบริษัท และยังสามารถจัดการหรือปรับปรุงแก้ไขได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยฝ่ายจัดการ หรือผู้จัดการ (หรือผู้มีตำแหน่งเทียบเท่า) แต่ละฝ่ายและแผนกสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง.

2.1. โครงสร้างและทีมงานแผนการจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ

เพื่อให้แผนการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล แผนฯ ได้จัดตั้งทีมงานการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP Team) ขึ้นโดยมีโครงสร้างดังนี้

  1. หัวหน้าคณะจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
  2. ผู้ประสานงาน/หัวหน้าทีมจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ-ส่วนสนับสนุน)

ถัดจากนั้นได้กำหนดตำแหน่ง Action Manager ขึ้นในแต่ละพื้นที่การทำงาน โดยแบ่งออกเป็น 4 พื้นที่ ประกอบด้วย สำนักงานใหญ่ คลังไม้ งามวงศ์วาน และคลัง Med.

ซึ่ง Action Manager ในแต่ละพื้นที่ สามารถปฏิบัติงานได้จริง ทันการณ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาฉุกเฉินได้ตามสมควร เพื่อมิให้บริษัทฯ เกิดความเสียหายไปมากกว่าที่ไม่ได้ดำเนินการอะไร รายงานตรงต่อผู้ประสานงาน/หัวหน้าทีมงาน ซึ่งผู้ประสานงาน/หัวหน้าทีมงาน จะรายงานให้หัวหน้าคณะจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจได้ทราบต่อไป

2.2. กระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉิน (Call Tree)

กระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉิน และ/หรือ Line group คือกระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉินให้กับสมาชิกในทีมจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจและทีมงานจัดการความต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องตามผังรายชื่อตามข้อ 2.1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารจัดการขั้นตอนในการติดต่อพนักงาน ภายหลังจากมีการประกาศเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤตของบริษัท.

ภาพ Call Tree

จุดเริ่มต้นของกระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉินจะเริ่มจากหัวหน้าคณะจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจแจ้งให้ผู้ประสานงาน/หัวหน้าทีมจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ รับทราบเหตุการณ์ฉุกเฉินและการประกาศใช้แผนการจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ ตามสายงานการบังคับบัญชาของแต่ละสายงาน ผู้จัดการ (หรือตำแหน่งเทียบเท่า) ในแต่ละฝ่ายและแผนกติดต่อและแจ้งไปยังพนักงานภายใต้สายการบังคับบัญชาของตน รับทราบเหตุการณ์ฉุกเฉินและการประกาศใช้แผนการจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจของบริษัท ที่ได้รับผลกระทบ ตามรายชื่อและช่องทางติดต่อสื่อสารที่ได้กำหนดไว้.

ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อหัวหน้าทีมได้ ให้ติดต่อไปยังบุคลากรสำรอง โดยพิจารณา:

  • ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นให้ดำเนินการติดต่อบุคลากรหลักโดยติดต่อผ่านเบอร์โทรศัพท์ และ Line group: @BCM_EFORL
  • ถ้าสามารถติดต่อบุคลากรหลักได้ให้แจ้งข้อมูลแก่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการของบริษัท ทราบและปรึกษาถึงประเด็นดังต่อไปนี้
    • สรุปสถานการณ์ของเหตุการณ์ฉุกเฉินและการประกาศใช้แผนการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ
    • เวลาและสถานที่สำหรับการนัดประชุมเร่งด่วนของบริษัท สำหรับฝ่ายจัดการของบริษัท และทีมงานจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ
    • ขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจต่อไป เช่น สถานที่รวมพลในกรณีที่มีการย้ายสถานที่ทำการ

ภายหลังจากได้รับการตอบรับจากบุคลากรหลักครบถ้วนตามผังการติดต่อ หัวหน้าคณะจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจมีหน้าที่ติดต่อ/ส่งข้อความทาง Line Group กลับไปแจ้งยังผู้ประสานงาน/ทีมงานจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ เพื่อรวบรวมสรุปความพร้อมของบริษัท ในการจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ รวมทั้งความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบริษัท และบุคลากรทั้งหมดในบริษัท.

ทีมงานจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ มีหน้าที่ในการปรับปรุงข้อมูลสำหรับการติดต่อให้เป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้กระบวนการติดต่อพนักงานภายในบริษัท สามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่องและสำเร็จลุล่วงภายในระยะเวลาที่คาดหวัง ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินและมีการประกาศใช้แผนการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ.

3.1. ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Assessment)

การประเมินผลกระทบต่อกระบวนการหรือการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis) จะแบ่งระดับผลกระทบออกเป็น 5 ระดับ โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาระดับผลกระทบดังนี้

ระดับผลกระทบ หลักเกณฑ์การพิจารณาระดับของผลกระทบ
สูงมาก
  • เกิดความเสียหายต่อองค์กรเป็นจำนวนเงินในระดับที่สูงมาก (ยอดขาย หรือต้นทุนสินค้า 5 ล้านบาทขึ้นไป, ค่าปรับผิดสัญญา 50,000 บาทขึ้นไป ค่าปรับหรือค่าเสียโอกาสทางการเงิน 1 ล้านบาทขึ้นไป เป็นต้น)
  • ส่งผลให้ขีดความสามารถในการดำเนินงานหรือให้บริการลดลงมากกว่า ร้อยละ 50
  • เกิดการสูญเสียชีวิตและ/หรือภัยคุกคามต่อสาธารณชน
  • ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและความมั่นใจต่อบริษัทในระดับประเทศและต่างประเทศ (ที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์)
สูง
  • เกิดความเสียหายต่อบริษัทเป็นจำนวนเงินระดับสูง (ยอดขาย หรือต้นทุนสินค้า 1 - 5 ล้านบาท, ค่าปรับผิดสัญญา 30,000-50,000 บาท ค่าปรับหรือค่าเสียโอกาสทางการเงิน 0.5-1.0 ล้านบาท เป็นต้น)
  • ส่งผลให้ขีดความสามารถในการดำเนินงานหรือให้บริการลดลงร้อยละ 25-50
  • เกิดการบาดเจ็บต่อผู้รับบริการ/บุคคล/กลุ่มคน
  • ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและความมั่นใจต่อบริษัทในระดับประเทศ
ปานกลาง
  • เกิดความเสียหายต่อองค์กรเป็นจำนวนเงินในระดับปานกลาง (ยอดขาย หรือต้นทุนสินค้า 0.3 - 1 ล้านบาท, ค่าปรับผิดสัญญา 10,000-30,000 บาท ค่าปรับหรือค่าเสียโอกาสทางการเงินทางการเงิน 0.1-0.5 ล้านบาท เป็นต้น)
  • ส่งผลให้ขีดความสามารถในการดำเนินงานหรือให้บริการ ลดลงร้อยละ 10-25
  • ต้องมีการรักษาพยาบาล
  • ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและความมั่นใจต่อบริษัทในระดับท้องถิ่น
ต่ำ
  • เกิดความเสียหายต่อบริษัทเป็นจำนวนเงินในระดับต่ำ (ยอดขาย หรือต้นทุนสินค้าไม่เกิน 0.3 ล้านบาท, ค่าปรับผิดสัญญาไม่เกิน 10,000 บาท ค่าปรับหรือค่าเสียโอกาสทางการเงินทางการเงินไม่เกิน 0.1 ล้านบาท เป็นต้น)
  • ส่งผลให้ขีดความสามารถในการดำเนินงานหรือให้บริการ ลดลงร้อยละ 5-10
  • ต้องมีการปฐมพยาบาล
  • ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและความมั่นใจต่อบริษัทในระดับต่ำ
ไม่มีสาระสำคัญ
  • ส่งผลให้ขีดความสามารถในการดำเนินงานหรือให้บริการ ลดลงน้อยกว่าร้อยละ 5

การประเมินระดับผลกระทบในแต่ละช่วงระยะเวลาของการหยุดชะงักที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้แบ่งออกเป็น 6 ช่วงระยะเวลา คือ

  1. 0-2 ชั่วโมง
  2. 2-4 ชั่วโมง
  3. 1 วัน
  4. 3 วัน
  5. 1 สัปดาห์
  6. 2 สัปดาห์

ในการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis) ของบริษัท พบว่ากระบวนการทำงานที่ต้องให้ความสำคัญและจำเป็นต้องดำเนินงานให้บริการได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้

  • การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis)

3.2 ผลกระทบด้านการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร การเงิน และการดำเนินงานตามพันธกิจ

3.3 ผลกระทบทางด้านการดำเนินงานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

กลยุทธ์ความต่อเนื่องทางธุรกิจ เป็นแนวทางในการจัดหาและบริหารจัดการทรัพยากรให้มีความพร้อม เมื่อเกิดสภาวะวิกฤติ ซึ่งพิจารณาทรัพยากรเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) อาคารสำนักงาน/คลังสินค้า 2) สินค้า อะไหล่ อุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า 3) เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ 4) บุคลากรหลัก 5) คู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ กลยุทธ์ด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจสำหรับแต่ละทรัพยากร มีดังนี้

4.1 การจัดการตามกลยุทธ์ความต่อเนื่องทางธุรกิจ

ทรัพยากร กลยุทธ์ความต่อเนื่องทางธุรกิจ
อุทกภัย/วาตภัย อัคคีภัย/แผ่นดินไหว โรคระบาด ชุมนุมประท้วง/จลาจล ระบบข้อมูลสารสนเทศ
อาคารสำนักงาน/คลังสินค้า อาคารสำนักงาน/คลังสินค้า (เสียหายบางส่วน) ให้ผู้ประสานงานคณะจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ประสานงานกับ ผู้จัดการ/ผู้รับผิดชอบประจำอาคาร/คลัง ดำเนินการตัดกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้พื้นที่ที่เกิดเหตุฉุกเฉิน (ส่วนห้องเย็นให้ตรวจสอบและใช้เครื่องสำรองไฟ) หรือดับเพลิง เช่น นำอุปกรณ์ดับเพลิงเข้าทำการดับเพลิง/พิจารณาแจ้งสถานีดับเพลิง (สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบวรมงคล 02-424-2823/สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางอ้อ 02-424-2910) หรือหน่วยงานภายนอกอื่น ๆ มาช่วย เป็นต้น เพื่อป้องกันชีวิต และทรัพย์สิน ให้ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด หลังจากเหตุการณ์ฉุกเฉินได้สงบลงแล้วให้รีบดำเนินการตรวจสอบอาคาร คลังสินค้า วัสดุอุปกรณ์ สินค้าที่ชำรุดเสียหาย สำรวจความเหมาะสมของสถานที่ หากเหมาะสม ดำเนินการซ่อมแซม แล้วกลับมาดำเนินงานตามปกติ - - -
ในกรณีต้องใช้ที่ปฏิบัติงานสำรอง ให้ผู้ประสานคณะจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ติดต่อสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง อาทิ สำนักงานงามวงศ์วาน หรือผู้ให้เช่าอาคารสำนักงาน/คลังสินค้าแถบวงแหวนรอบนอก เพื่อขอใช้พื้นที่ปฏิบัติงานสำรองเป็นการชั่วคราว รองรับพนักงานได้ประมาณ 20-30 คน (พนักงานส่วนอื่นให้ทำงานภายนอกบริษัท หรือ Work from Home ซึ่งต้องประสานงานสื่อสารกับผู้จัดการที่เป็นผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดโดยตลอด) -
ในกรณีที่เกิดความเสียเป็นวงกว้าง หรือ ไม่สามารถเข้ามาทำงานได้ สำรวจความเหมาะสมของสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง ฝ่ายจัดการประชุมตัดสินใจเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมต่อไป -

สินค้า อะไหล่ อุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า

ในกรณีที่วัสดุ อุปกรณ์ หรือคอมพิวเตอร์ใช้งานได้รับความเสียหาย ไม่สามารถใช้งานได้ ให้ผู้ประสาน/หัวหน้าทีมจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ประสานกับแผนกจัดการทรัพย์สิน แผนกธุรการ และแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กร เพื่อจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ หรือคอมพิวเตอร์มาใช้งานก่อนโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์นั้น (จัดหาโดยจากบริษัทย่อย หรือการเช่า/เช่าซื้อ) จะต้องพิจารณาตามลำดับความสำคัญของงาน ไม่รวมประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รักษาการประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ (หากมีความจำเป็น ต้องกำหนดให้มีระบบ VPN ให้กับผู้ดูแลระบบ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ที่จำเป็นต้องทำงานกับระบบภายนอก สามารถเข้าใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ของบริษัท)
กรณีอุทกภัย: สินค้า อะไหล่ อุปกรณ์ ต้องนำเก็บขึ้นที่สูง และ/หรือย้ายไปยังคลังอื่นหากเกิดความรุนแรงด้านอัคคีภัยและแผ่นดินไหว - - -

ในกรณีที่ยานพาหนะ อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า ได้รับความเสียหายบางส่วนบางคัน ให้พนักงานขับรถ ใช้งานในคันที่เหลือ ที่ใช้งานได้

ในกรณียานพาหนะ อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า ได้รับความเสียหายทั้งหมด ให้ฝ่ายสำนักงานส่วนสนับสนุนจัดหา เช่ารถเพิ่มเติม และ/หรือจ้าง Outsource ให้ดำเนินการจัดส่ง

-

ในกรณีที่ยานพาหนะ อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า ได้รับความเสียหายบางส่วนบางคัน ให้พนักงานขับรถ ใช้งานในคันที่เหลือ ที่ใช้งานได้

ในกรณียานพาหนะ อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า ได้รับความเสียหายทั้งหมด ให้ฝ่ายสำนักงานส่วนสนับสนุนจัดหา เช่ารถเพิ่มเติม และ/หรือจ้าง Outsource ให้ดำเนินการจัดส่ง

-
เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ

ในกรณีเกิดปัญหาเกี่ยวกับเครื่องแม่ข่าย (Server) และอุปกรณ์เครือข่าย (Network) แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กร จะดำเนินการแก้ไขเบื้องต้น และ/หรือประสานงานกับบริษัทที่ดูแลรับผิดชอบแอพพลิเคชั่น (WINSpeed) และ/หรือผู้เชี่ยวชาญระบบเครือข่ายโดยเร็วที่สุดภายในระยะเวลาไม่เกิน 24 ชม.

ในกรณีข้อมูลที่บันทึกอยู่ในรูปแบบสื่อดิจิทัลที่บริษัท เกิดความเสียหายทั้งหมด จะมีการสำรองข้อมูลใน Backup Server และสื่ออื่น ซึ่งสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาทำงานต่อได้

ให้เป็นไปตามนโยบายด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กรต้องประสานงานเพื่อกำหนดให้มีระบบรองรับการทำงานในสภาวะวิกฤต ดังนี้

  • กำหนดให้มีระบบ Remote Access Control ให้กับผู้ดูแลระบบและผู้บริหารที่จำเป็นต้องทำงานกับระบบจากภายนอก สามารถเข้าใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท
  • มีระบบสำรองไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ในห้องส่วนกลาง
  • กำหนดให้มีการจัดระบบสำรองข้อมูลบนเครื่องแม่ข่ายในเบื้องต้น
  • ระบบสารสนเทศและข้อมูลสำคัญของบริษัท มีลักษณะรวมศูนย์และเชื่อมโยงระบบเครือข่าย จึงได้กำหนดแผนการดำเนินงานในเบื้องต้นให้มีระบบ
    1. กำหนดให้ทุกแผนก/ฝ่ายจัดเก็บข้อมูลสำรองไว้
    2. กำหนดให้มีระบบสำรองข้อมูลส่วนกลางบริษัท ใช้จัดเก็บข้อมูลระบุงานหลักภายใน Backup แหล่งที่ 2 ที่ป้องกัน ได้แก่ Backup Server ที่ตึกคลัง Back Office.
    3. กำหนดให้ตรวจสอบระบบข้อมูลใหม่และตัดสัญญาณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับระบบที่มีปัญหา
    4. ประสานแจ้งแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กร ตรวจสอบปัญหาอีกครั้ง
  • ดำเนินการด้วยระบบมือ (Manual) ไประยะหนึ่งก่อน ซึ่งไม่เกินกว่า 3 วันทำการ แล้วจึงบันทึกข้อมูลระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • กำหนดให้มีการจัดทำระบบสำรองข้อมูลส่วนกลางให้กับระบบฐานข้อมูลหลักของบริษัท
บุคลากรหลัก

กำหนดให้ใช้บุคลากรสำรองทดแทน ตามข้อ 2.1 โครงสร้างและทีมงานแผนการจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ หรือพนักงานในแผนก/ฝ่ายเดียวกัน

 

กำหนดให้พนักงานในแผนก/ฝ่ายอื่นที่อยู่ในอาคารหรือคลังเดียวกัน ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในกรณีที่พนักงานไม่เพียงพอหรือขาดแคลน

คู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ/ผู้มีส่วนได้เสีย

ในกรณีที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของบริษัท ไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติมากกว่า 1 ชั่วโมงขึ้นไป ให้พนักงานที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท Smartphone สามารถทำโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้เป็น Hotspot เพื่อแชร์อินเทอร์เน็ตให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับสัญญาณ Wi-Fi ได้เป็นการชั่วคราว

ในกรณีที่ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมหลักของบริษัท ไม่สามารถให้บริการได้มากกว่า 1 วัน ผู้ประสานงานการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ประสานกับแผนกจัดซื้อให้ดำเนินการซื้ออุปกรณ์เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตแบบพกพา (Air Card) ที่ร้านสะดวกซื้อ จำนวน 5 ตัวหรือมากกว่า ได้ทันที เพื่อแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าไปก่อน

ในกรณีที่ไม่สามารถเข้ามาปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานหลักได้ และจำเป็นต้องติดต่อประสานงานกับบริษัท ให้พนักงานสามารถติดต่อผ่านทาง Application: Line (เชื่อมโยงกับ Line Group: @BCM_EFORL) โดยจัดกลุ่ม มีสมาชิกเป็นพนักงานของบริษัท ใช้ติดต่อเฉพาะในกรณีเกิดเหตุสภาวะวิกฤตเท่านั้น

4.2 การวิเคราะห์ความเสี่ยงแต่ละพื้นที่ ระดับความเสี่ยง และแนวทางการแก้ปัญหา

พื้นที่ ระดับความเสี่ยง (L M H) ปัญหาเฉพาะพื้นที่ แนวทางการแก้ปัญหา
สำนักงานใหญ่   - -
คลัง Med   - -
คลังไม้   - -
งามวงศ์วาน   ระบบสาธารณูปโภค  
  M 1) สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร แก้ไข ปรับปรุงซ่อมแซม
  M 2) ระบบปรับอากาศ แก้ไข ปรับปรุงซ่อมแซม
  M 3) ที่จอดรถไม่เพียงพอ เช่าที่จอดรถเพิ่ม
  H 4) มีบุคคลภายนอกเข้า-ออกพลุกพล่าน ติดกล้องวงจรปิด ประตูที่มีระบบเปิด-ปิด แข็งแรงปลอดภัย Action Manager ต้องมีโทรศัพท์สายตรงสายด่วนกับหน่วยงานหรือตำรวจที่ดูแลด้านความปลอดภัย
ทุกพื้นที่   ปัญหาร่วม แนวทางการแก้ปัญหา
  H 1) ความปลอดภัยด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอร์เน็ต เร่งให้มีการติดตั้งระบบ Firewall อย่างสมบูรณ์ภายใน Q2/2565
  L 2) ความเสี่ยงด้านน้ำท่วม ซื้อกระสอบทรายปิดกั้น โยกย้ายทรัพย์สิน สินค้าขึ้นที่สูง

4.3 การวิเคราะห์เพื่อกำหนดความต้องการทรัพยากรที่สำคัญ

4.3.1 ด้านสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง (Working Space Requirement) ดังแสดงในตารางดังนี้

ประเภททรัพยากร ที่มา ระยะเวลาการจัดหา*
4 ชั่วโมง 1 วัน 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ 1 เดือน

พื้นที่สำหรับสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง
(2 ตร.ม.: 1 คน)

  • สำนักงานงามวงศ์วาน
  • เช่า

60 ตร.ม.
(30 คน)

80 ตร.ม.
(40 คน)

100 ตร.ม.
(50 คน)

150 ตร.ม.
(75 คน)

200 ตร.ม.
(100 คน)

คลังสินค้า
  • เช่า
500 ตร.ม. 1,000 ตร.ม.   2,500 ตร.ม.  
Cold Room
  • เช่า
  30 ลบม.   60 ลบม. 100 ลบ.ม.
พื้นที่สำรองปฏิบัติงานที่บ้าน (WFH)
  • พนักงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานภาวะวิกฤต
         

*ระยะเวลาที่มากขึ้นก็สามารถจัดหาทรัพยากรได้มากขึ้นเพียงพอขึ้น

4.3.2 ความต้องการด้านวัสดุอุปกรณ์ (Equipment & Supplies Requirement) ดังแสดงในตารางดังนี้

ประเภททรัพยากร ที่มา ระยะเวลาการจัดหา
4 ชั่วโมง 1 วัน 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ 1 เดือน

คอมพิวเตอร์สำรองที่
มีคุณลักษณะเหมาะสม

  • ของพนักงาน
  • ยืมภายในหน่วยงานเดียวกัน
  • เครื่องสำรองผ่านกระบวนการจัดซื้อเร่งด่วน
5 เครื่อง 5 เครื่อง 10 เครื่อง 20 เครื่อง 20 เครื่อง

โทรศัพท์พร้อม
หมายเลข / โทรศัพท์มือถือ

  • ของพนักงาน / ของหน่วยงาน
  • จัดสรรภายในหน่วยงาน
  • เครื่องสำรองผ่านกระบวนการจัดซื้อเร่งด่วน
1 เครื่อง 1 เครื่อง 1 เครื่อง 2 เครื่อง 2 เครื่อง

เครื่องโทรสารพร้อมหมายเลข

  • จัดสรรภายในหน่วยงาน
  • เครื่องสำรองผ่านกระบวนการจัดซื้อเร่งด่วน
- 1 เครื่อง 1 เครื่อง 1 เครื่อง 1 เครื่อง

เครื่องถ่ายเอกสาร/เครื่องสแกน

  • จัดสรรภายในหน่วยงาน
  • เครื่องสำรองผ่านกระบวนการจัดซื้อเร่งด่วน
- 1 เครื่อง 1 เครื่อง 1 เครื่อง 1 เครื่อง

เครื่องสำรองไฟฟ้า

  • เครื่องสำรองผ่านกระบวนการจัดซื้อเร่งด่วน
- 1 เครื่อง 1 เครื่อง 1 เครื่อง 1 เครื่อง

4.3.3 ความต้องการด้านเทคโนโลยี

ประเภททรัพยากร ที่มา ระยะเวลาการจัดหา
4 ชั่วโมง 1 วัน 3 วัน 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์

E-mail และเว็บไซต์ www.eforl-aim.com

  • แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กร
   

ระบบ WINSpeed

  • แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กร
   

4.3.3.1 ความต้องการด้านพนักงานสำหรับความต่อเนื่องเพื่อปฏิบัติงาน (Personnel Requirement) ปรากฏตามตาราง

1) การระบุจำนวนพนักงานหลักที่จำเป็นเหตุการณ์อัคคีภัย / เหตุการณ์อุทกภัย วาตภัย

ประเภททรัพยากร ระยะเวลาการจัดหา
4 ชั่วโมง 1 วัน 3 วัน 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์
หัวหน้าทีมจัดการความต่อเนื่องเหตุการณ์อัคคีภัย /
เหตุการณ์อุทกภัย วาตภัย
1 คน 1 คน 1 คน 1 คน 1 คน
บุคลากรหลักจัดการความต่อเนื่องเหตุการณ์อัคคีภัย /
เหตุการณ์อุทกภัย วาตภัย
3-4 คน 4-5 คน 6-7 คน 6-7 คน 8-9 คน
บุคลากรสำรองในการปฏิบัติงานจัดการความต่อเนื่องเหตุการณ์อัคคีภัย/เหตุการณ์อุทกภัย วาตภัย 4-5 คน 6-7 คน 6-7 คน 8-9 คน 9-10 คน
รวม 8-10 คน 11-13 คน 13-15 คน 15-17 คน 18-20 คน

*หากเหตุการณ์ยังอยู่ในสภาวะวิกฤตให้เตรียมพนักงานให้มากขึ้นตวามช่วงเวลา

2) การระบุจำนวนบุคลากรหลักที่จำเป็นต่อเหตุการณ์ถูกจู่โจมทางคอมพิวเตอร์

ประเภททรัพยากร ระยะเวลาการจัดหา
4 ชั่วโมง 1 วัน 3 วัน 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์
หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่องต่อการถูกจู่โจมทางคอมพิวเตอร์ 1 คน 1 คน 1 คน 1 คน 1 คน
บุคลากรสำรองในการปฏิบัติงานจัดการความต่อเนื่องการถูกจู่โจมทางคอมพิวเตอร์ 1 คน 2 คน 2 คน 2 คน 3 คน
รวม 2 คน 3 คน 3 คน 3 คน 4 คน

4.3.4 ความต้องการด้านผู้ให้บริการที่สำคัญ (Service Requirement)

ประเภททรัพยากร ระยะเวลาการจัดหา
4 ชั่วโมง 1 วัน 3 วัน 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์
ผู้ให้บริการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยงานละ 1 คน หน่วยงานละ 1 คน หน่วยงานละ 1 คน หน่วยงานละ 1 คน หน่วยงานละ 1 คน
รวม 1 คน 1 คน 1 คน 1 คน 1 คน

กำหนดให้มีมาตรการ กิจกรรม ขั้นตอนการจัดการความต่อเนื่องและกู้คืนกระบวนการ ดังนี้

  • วันที่ 1-3 การตอบสนองต่อเหตุการณ์ทันที
  • วันที่ 4-7 การตอบสนองระยะสั้น
  • วันที่ 8-15 การตอบสนองระยะปานกลาง

บริษัทได้นำแนวคิดและแนวปฏิบัติด้านแผนการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจนี้ ไว้ในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ และสื่อสารให้กับบุคลากรทุกระดับในสื่อต่าง ๆ ของบริษัท และหากมีการประชุมสัมมนาทั่วไป หรือการประชุมประจำปี ก็จะมีวาระนำแนวคิดแนวปฏิบัตินี้บรรยายและอบรม ให้รับทราบตามความเหมาะสม

นอกจากนี้ บริษัทมีแผนซ้อมหรือแผนการฝึกฝน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง เมื่อมีสถานการณ์จริงเกิดขึ้น ซึ่งจะยังประโยชน์ด้านการลดความเสี่ยง ลดความเสียหาย และลดความตื่นตระหนกของพนักงานบริษัทเมื่อประสบกับสถานการณ์จริงได้ ซึ่งในปี 2565 นี้ บริษัทกำหนดให้มีการฝึกซ้อมการดับเพลิงขั้นต้น และการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ไว้ในวันอังคาร-พุธที่ 13-14 กันยายน 2565 และจะเป็นเดือนสิงหาคมของทุก ๆ ปี

โดยให้ ทีมงานจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สังเกตการณ์ ควบคุมการให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติ บันทึก ความสำเร็จ จุดหรือประเด็นที่ต้องปรับปรุง ฯ

หมายเหตุ: กำหนดการ ช่วงเวลาข้างต้น อาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

ภายใน 3 วันทำการ ให้ผู้ประสานงานและหัวหน้าทีมงานจัดการความเนื่อง ทำรายงานสรุปมายัง หัวหน้าคณะจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ

ซึ่งทีมงานตามข้อ 2.1 จะนำมาเป็นข้อมูลสำคัญในการปรับปรุง และธำรงรักษาระบบการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจต่อไป.

แผนการจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจนี้ ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน และได้ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565.

-->