About Us

ข่าวสารองค์กร

 

โครงการ อบรมเครื่องมือแพทย์สำหรับช่าง Service Training หลักสูตร 2 วัน

กลับ

18 มิถุนายน 2558

เนื่องจากอุปกรณ์การแพทย์ได้ถูกนับเป็นปัจจัยหลักในการปฏิบัติงานการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคในโรงพยาบาล, สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน  ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการการดูแลรักษา และตรวจซ่อมที่ถูกวิธี และเป็นมาตรฐานสากลเพื่อเป็นการชะลออายุการใช้งาน และมีความพร้อมที่จะใช้งานตลอดเวลา  บริษัท อี ฟอร์ แอล เอม จำกัด (มหาชน) จึงร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์  สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล  มหาวิทยาลัยมหิดล   ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความสามารถของผู้เข้ารับการอบรมให้เข้าใจหลักการทำงาน  การใช้งานเครื่องมือแพทย์และเพิ่มพูนทักษะ  ประสบการณ์  การใช้เครื่องมือแพทย์  ตลอดจนการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้อง  อาทิเช่น  เครื่องช่วยหายใจ  เครื่องดมยาสลบในขณะผ่าตัด  และเครื่องติดตามสัญญาณชีพ  โดยไม่จำเป็นต้องสูญเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากในการตรวจวินิจฉัยและซ่อมบำรุงเครื่อง  ดังนั้นการที่บุคลากรทางฝ่ายช่างของโรงพยาบาล หรือตลอดจนผู้ใช้งานเครื่องที่มีความสนใจได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมหลักสูตรดังกล่าว  เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาตลอดจนซ่อมบำรุงเครื่องมือแพทย์ตามความรับผิดชอบได้  อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานและตนเอง  ในด้านการเพิ่มพูนทักษะเป็นอย่างยิ่ง

วัตถุประสงค์

  1. เพิ่มความมั่นใจ และขีดความสามารถของบุคลากรผู้ใช้เครื่องมือแพทย์
  2. ให้มีความเข้าใจหลักการทำงาน , การใช้งาน ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างถูกวิธีมากยิ่งขึ้น
  3. ให้มีความสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นในด้านการใช้งานของเครื่องมือแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องพร้อมทั้งการวางแผนบริหารจัดการเครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
  4. บุคลากรได้มีโอกาสหาประสบการณ์ใหม่จากการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

ผู้เข้าร่วมอบรม ช่างเครื่องมือแพทย์ที่ใช้เครื่องมือแพทย์ของบริษัทฯ ทั่วประเทศ

สถานที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

ระยะเวลา
ตั้งแต่วันที่ 18 – 19 มิถุนายน 2558 เวลา 9.00 น. – 16.00 น.
ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ สิรินทร์ พิบูลนิคม อาคารสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

วิธีดำเนินการอบรมเชิงปฎิบัติการ

  1. อบรมเชิงวิชาการ และปฏิบัติการ
  2. สนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. โรงพยาบาลต่าง ๆ นำความรู้ ความเข้าใจ ดูแลรักษาเครื่องได้เบื้องต้น ลดค่าใช้จ่ายการเดินทางของ ช่างฯ บริษัทฯ
  2. บุคลากรฝ่ายช่าง หรือผู้ใช้เครื่องฯ ได้มีโอกาสเรียนรู้หลักการทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติในด้านของ การตรวจซ่อม-บำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ อันจะช่วยลดเวลาการส่งช่างของบริษัทฯ ไปตรวจสอบ ขั้นต้น
  3. บุคลากรฝ่ายช่าง ตลอดจนผู้ใช้เครื่องที่ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมจะได้รับประสบการณ์จริง สามารถแลกเปลี่ยนปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นกับตัวแทนผู้ผลิตจำหน่ายเครื่องมือแพทย์โดยตรง และ วางแผนการจัดซ่อมเครื่องต่อไป
-->